30 ธันวาคม 2552

ใบงานที่ 8

นางอุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
--------------------------


สรุปการใช้โปรแกรมSPSS OF WINDOWS

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) หมายถึงตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น


2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนาบรรยาย



3.ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิก ทั้งหมดที่ต้องการศึกษา ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ทั้งตัวอย่าง


4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์ มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอกถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์มาตรอันตรภาค (Interval Scale)-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์ที่แท้จริง-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท


5. ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มาก่อน เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง มีลักษณะเป็นตัวทำนาย เป็นตัวกระตุ้นหรือ มีความคงทน ถาวรตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง เป็นตัวถูกทำนาย เป็นตัวตอบสนอง เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตัวอย่าง เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 โดยใช้การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาตัวแปรต้น คือ การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ


6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ


7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป T-test และ
F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป


แหล่งอ้างอิง
htt://www.watpon.com
http://www.tutormaths.com/
http://pibul2.psru.ac.thhttp://pibul2.psru.ac.thhttp://th.wikipedia.org/
www.suphet.com/index.php?lay=show&ac=article
pirun.ku.ac.th/~iscwnc/training/20090808/index.html

ใบงานที่ 7

นางอุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
-------------------------
วิธีการทำWebboard ให้สวยงาม เช่น (1) การใส่ปฏิทิน (2) การใส่นาฬิกา (3) การทำสไสด์ (4) การปรับแต่งสีใน Webboard (5) การใส่เพลงลงใน Webboard สรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆดังนี้
1.การใส่ปฏิทิน มีขั้นตอนคือเปิด google พิมพ์คำว่า “ code ปฏิทิน ” กด enter เปิดเว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นกดเมาส์ ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น กดเมาส์ในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน


2.การใส่นาฬิกา มีขั้นตอนคือเปิด google พิมพ์คำว่า “ code นาฬิกา ” กด enter เปิดเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นกดเมาส์ ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น กดเมาส์ในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน


3.การทำสไลด์ มีขั้นตอนคือ เปิดเว็บไซต์ slide.com จากนั้น ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อยจากนั้น เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยให้ กดเมาส์ตรง สร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ เมื่อทำการ upload รูป ดัดแปลงแบบของคุณ ทำการเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอฟแฟ็กต่างๆ เลือกแบบที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว กดเมาส์ บันทึก เพื่อยืนยัน


4.การปรับแต่งสีใน blog มีขั้นตอนคือเปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น กดเมาส์ แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้กดเมาส์ บันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยัน


5.การใส่เพลง มีขั้นตอนคือให้เข้าไปใน http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402จากนั้น กดเมาส์เลือกเพลงที่ต้องการ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตัวเอง โดยอาจจะวางในส่วนของบทความใหม่

ใบงานที่ 9

นางอุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
***********************

คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
1.มีความรู้ดีมีความรู้ความสามารถทางด้านการบริหาร เป็นผู้นำทางวิชาการ ทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร มีความสามารถในการประสานงาน
2. มีบุคลิกภาพดีมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้ารับทั้งผิดและชอบ เป็นที่น่าเชื่อถือมีอารมณ์มั่นคง รู้จักอดทนอดกลั้น มีกิริยามารยาทเป็นที่ยอมรับของสังคมแต่งกายสะอาดถูกกาลเทศะ
3.มีคุณธรรม จริยธรรมซื่อสัตย์ ไม่คอรัปชั่นคือมีความโปร่งใส มีความยุติธรรม เสียสละเป็นคนดีของสังคมมีจิตวิญญาณนักบริหาร คืออุทิศตนเพื่อหน้าที่ ดำเนินชีวิตและทำงานบนพื้นฐานของเหตุผล ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

ใบงานที่ 10

นางอุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
-------------------------
ประวัติ
ชื่อ นางอุบลรัตน์ นำนาผล
เกิดวันที่ 24 มกราคม 2503
สถานที่อยู่ บ้านเลขที่ 43 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมร
าช

ประวัติการศึกษา
มัธยมศึกษา โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยครูจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ปริญญาตรี วิชาเอก เกษตรศาสตร์ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ปริญญาโท สาขา สังคมวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2523 ดำรงตำแหน่ง ครู 2 โรงเรียนปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2545 ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2547 ดำรงตำแหน่ง ครู คศ.2 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2551 ดำรงตำแหน่ง ครู คศ.3 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ครู คศ.3 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ปฎิบัติหน้าที่ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

ใบงานที่ 11

นางอุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
-------------------------

แสดงความรู้สึก/ความคิดเห็นต่ออาจารย์ที่สอน
จากการได้เรียนวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ทำให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการใช้ เทคโนโลยีมากขึ้น เพราะอาจารย์แนะนำ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้มากมาย บางเรื่องเป็นเรื่องที่ใหม่ เมื่อได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองทำให้เป็นคนที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เหมาะสมกับคำกล่าวที่ว่า "เป็นผู้ที่ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุดข่าวสาร" เพราะ อาจารย์จะมีความรู้ ความสามารถ กว้างขวาง แนะนำเรื่องต่างๆได้มากมาย อาจารย์ใจดีมาก บางครั้งจะพูดเร็วไปบ้าง แต่อาจารย์ก็ปรับเทคนิควิธีโดยให้เพื่อนๆที่เรียนรู้มาก่อนแล้วแนะนำเพื่อน ๆ ได้ดีมาก ชอบเรียนวิชานี้ เพราะมี บล็อก เป็นของตัวเอง จะตกแต่ง บล็อกให้สวยงาม จึงตั้งใจเรียนวิชานี้มากค่ะ และพยายามฝึกฝนบ่อยๆ จะได้เก่งแบบอาจารย์ค่ะ คนที่เป็นครูหรือผู้บริหารก็ตามต้องเป็นคนที่ตามทันเทคโนโลยีแบบอาจารย์ค่ะ
หลังจากเรียนจบหลักสูตรจะนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และแนะนำบุคลากรในหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

28 ธันวาคม 2552

ฟังเพลง

11 ธันวาคม 2552

ใบงานที่ 6


อุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
--------------------------------------
วิธีการใช้ http://www.google.co.th/
1.Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์คือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ
2.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้ ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
3.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่ถ้าไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
4.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
5. Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้เลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น ต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
6.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
7.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional)
8.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)
9.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/

2.การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการดังนี้
1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
ที่มา :
http://www.konmun.com/Article/google-id5614.aspx
3.Webที่ใช้ค้นหาข้อมูล นอกจาก google แล้วมีอะไรอีก บอกชื่อ Web
เป็นโปรแกรมทีใช้ในการท่องโลก World Wide Web เพื่อดูข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต มีให้ผู้ใช้เลือกหลายโปรแกรม ได้แก่ Microsoft Internet Explorer , Mozila Firfox, Opera, Navigator, Siamguru,Kapook,Hunsa,Chrome ,Safari ฯลฯ
ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=78fb7a2589164fd6

4.ในกำหนดหมวดหมู่ในการค้นหาโดยใช้ google หลักสำคัญๆ มีดังนี้
- การจัดอันดับความสำคัญ Google Web Directory กลุ่มเว็บไซต์ซึ่งเลือกโดยบรรณาธิการอาสาสมัครของ Open Directory จากนั้น Google จะใช้เทคโนโลยีการจัดอันดับหน้าซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะและปัจจัยอื่นๆ เพื่อจัดอันดับไซต์ตามลำดับความสำคัญ แถบแนวนอนซึ่งปรากฏอยู่ข้างๆ หน้าเว็บแต่ละหน้า แสดงถึงความสำคัญของหน้านั้นๆ ในมุมมองของ Google แนวทางการจัดอันดับเว็บไซต์ที่แตกต่างนี้ช่วยให้หน้าที่มีคุณภาพสูงสุดปรากฏขึ้นก่อนในฐานะผลการค้นหาที่ดีที่สุดของแต่ละหมวดภายในไดเรกทอรีของ Google
การค้นหาอย่างชาญฉลาดกว่าภายในหมวดต่างๆ ของไดเรกทอรี Google ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาเว็บตามปกติเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแต่ละหน้าในไดเรกทอรี ความสามารถดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาภายในหมวดต่างๆ ได้ลึกขึ้น และให้ผลที่เกี่ยวข้องมากกว่าการค้นหาไดเรกทอรีอื่นๆ
- ใช้เทคนิคการจัดหมวดหมู่ที่เป็นนวัตกรรมของ Google โดยการเชื่อมโยงผลการค้นหาตามปกติของ Google เข้ากับข้อมูลใน Google Web Directory เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงผลการค้นหาตามปกติของ Google ไปจนถึงหน้าเว็บที่คัดเลือกมาแล้วว่ามีความเกี่ยวข้องสูงสุดในไดเรกทอรีของ Google ได้ในคลิกเมาส์เพียงครั้งเดียว
- การใช้อินเทอร์เฟซที่เรียบง่าย Google Web Directory ใช้รูปแบบอินเทอร์เฟซที่ใช้งานได้สะดวกและเป็นมิตรกับผู้ใช้ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ช่วยให้ไซต์ google.co.th โดดเด่นจากไซต์การค้นหาอื่นๆ
ที่มา : http://www.google.com/intl/th/dirhelp.html

10 ธันวาคม 2552

ใบงานที่ 4



อุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
---------------------------
(1)การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
ที่มา :
http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

(2) ขั้นตอนการจัดการความรู้ มี 7 ขั้นตอน คือ
1. บ่งชี้ความรู้ เป็นการค้นหาว่า ความรู้ที่สำคัญ ต่อการบรรลุเป้าหมาย คืออะไร อยู่ที่ใคร ยังขาดความรู้อะไร 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการหาวิธีในการดึงเอาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ในข้อ 3.1 บางส่วนความรู้ที่ยังขาดอยู่จะสร้างอย่างไร อาจจะศึกษาต่อยอดความรู้เดิมหรือนำความรู้ภายนอกองค์กรมาใช้
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เมื่อได้เนื้อหาความรู้มาแล้วต้องมีการแบ่งประเภทความรู้จัดทำสารบัญเพื่อให้การเก็บรวบรวมและการค้นหาได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ก่อนนำเข้าสู่ระบบจะต้องปรับปรุงเนื้อหา การใช้ภาษาให้เป็นภาษาเดียวกัน รวมทั้งรูปแบบของข้อมูล เพื่อความสะดวกในการป้อนเข้าสู่ระบบ
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการกำหนดวิธีการกระจายความรู้สู่ผู้ใช้ อาจทำเป็นสมุดบัญชี (บอกว่ามีข้อมูลเรื่องที่ต้องการอยู่ที่ใดและเข้าถึงข้อมูลนั้นอย่างไร) ซึ่งอาจจัดเก็บความรู้เป็นรูปแบบง่าย ๆ หรือ ทำเป็นฐานความรู้ IT การจัดอบรม การจัดให้มีระบบสอนงานแบบพี่เลี้ยง ซึ่งมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธีที่ทำให้ความรู้นั้นถูกคนในองค์กรนำไปใช้
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ เป็นการจัดให้มีช่องทางการถ่ายเทความรู้ ทั้ง Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge
7. การเรียนรู้ (Learning) เมื่อความรู้ขององค์กรมีการนำไปใช้จนเกิดการเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ใหม่กลับมาให้องค์กร (ไม่ใช่ความรู้ใหม่แล้วเก็บไว้กับตัว) โดยแลกเปลี่ยนแบ่งปันให้ผู้อื่นนำไปใช้อีก การเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดองค์ความรู้ขององค์กรเพิ่มขึ้น ซึ่งองค์กรจะมีวิธีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ อย่างไร (อาจจะกำหนดให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานบุคลากร เป็นต้น)
ที่มา :
http://province.prd.go.th/surin/PMQA010.doc
(3) แหล่งข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ
2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น
ที่มา :
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html

(4) เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
ที่มา :
http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php

(5) สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงสัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง ๆและเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

09 ธันวาคม 2552

ใบงานที่ 1


อุบลรัตน์ นำนาผล 5246701031
-------------------------------------------------------------
สรุปความหมายและความสำคัญพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา
(1) การจัดการ/การบริหาร
การจัดการ (Management) หรืออาจจะเรียกว่า การบริหาร หรือ การบริหารจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป
ที่มา : http://guru.sanook.com/answer/question
(2) นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
(3) เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา :http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm
(4) ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง
ที่มา :http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=53170
(5) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ ที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียว
ที่มา :http://www.thaigoodview.com/node/19324

(6) ระบบสารสนเทศหมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l

(7) ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง ระบบที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอนการวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร อย่างเป็นระบบ
ที่มา : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927093/timn_49270937.pdf

(8) การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ซึ่งจะทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วเกิดผลตอบสนอง
ที่มา : http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/thaicommu/th31_1_1.html

(9) เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารถ่ายโอน เชื่อมโยง ข้อมูลในองค์กร
ที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp

(10) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ที่มา
: http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm

(11) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียม
ที่มา : http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit2_p01.html
กรณีศึกษา : การจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการด้านต่าง ๆ คือ
1. จัดทำเว็ปไซด์ขององค์กรเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในด้านต่าง ๆ เช่น
- ข้อมูลด้านบุคลากร
- ข้อมูลนักเรียน
- รายงานผลการปฏิบัติงาน/โครงการ
- ให้บริการดาวน์โหลดภาพกิจกรรม
- แจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์
- ลงทะเบียนการเข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ฯ
- รับ - ส่ง ตรวจเอกสารวิชาทางที่แนบไฟล์มาทาง E- mail
2.การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดทำข้อมูลแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)สำหรับนักเรียนพิการเรียนร่วมที่ขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อและบริการอื่นใดทางการศึกษาตามกฎกระทรวง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (JDK)ในสถานศึกษา และให้บริการติดตั้งและแนะนำการใช้โปรแกรมแก่บุคลากรโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1-4 จำนวน 201 โรงเรียน
ที่มา : http://school.obec.go.th/nakhonsisec/home.html

07 ธันวาคม 2552

ใบงานที่ 2

นางอุบลรัตน์ นำนาผล
รหัสประจำตัว 5246701031
-----------------------------
- ชื่อหน่วยงาน ::ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- สถานที่ตั้ง เลขที่ 132 หมู่ 3 ต.นาสาร อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

- แนวคิดในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พัฒนาคน-> พัฒนางาน->มุ่งประสานเทคโนโลยี

-วิสัยทัศน์ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2550-2554 (Vision) เน้นการบริหารจัดการโดยใช้นวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อให้ผู้พิการได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ตามศักยภาพ และอุปนิสัย บนรากฐานคุณธรรมจริยธรรมมีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นใช้เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการศึกษาตลอดชีวิต และมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
-ยุทธศาสตร์ พัฒนาครูและบุคลากรด้านการใช้และผลิต สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้สื่อ/เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การรายงานข้อมูล มีการจัดทำรายงาน/เอกสารเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา

-บริบทของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิการทุกประเภท ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบ ให้บริการที่ศูนย์ฯ ที่บ้าน ในชุมชน ร.ร.เรียนร่วม และในโรงพยาบาล ศูนย์มีอาคารเรียน 2 หลัง ครูและบุคลากร จำนวน 31 คน รับนักเรียนประเภทไป-กลับ รวมเด็กพิการที่ขอรับบริการทั้งสิ้นประมาณ 680 คน

- โครงสร้างการบริหาร ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดนครศรีธรรมราช
แบ่งโครงสร้างงานออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
1.ฝ่ายวิชาการ มีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น
- EI - CBR - IEP/IIP - งานผู้ป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล
- งานส่งเสริมและสนับสนุนเรียนร่วม - งานข้อมูลนักเรียน
2.ฝ่ายบริหารทั่วไป
- งานการเงินและบัญชี - งานพัสดุ - งานอาหารและโภชนาการ
3. ฝ่ายบริหารงานบุคคล
- งานเวร ยาม - งานข้อมูลบุคลากร - งานสวัสดิการบุคลากร
4. ฝ่ายอาคารสถานที่
- งานสาธารณูปโภค - งานปรับปรุงภูมิทัศน์ - การให้บริการชุมชน

- สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมและสารสนเทศดังนี้ พัฒนาบุคลากรทุกฝ่าย ให้มีความรู้ ความสามารถสูงขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน สามารถประยุกต์ใช้ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนางานประจำ ที่รับผิดชอบได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนครูที่มีความสนใจ มีความสามารถด้าน นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้นำ ในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาการเรียนการสอน เผยแพร่ผลงานและพัฒนาผลงานสู่ชุมชน